สถิติ
เปิดเมื่อ18/09/2011
อัพเดท6/09/2013
ผู้เข้าชม5744055
แสดงหน้า8058724
บทความ
collection UP
"[ฝรั่ง]-[ฉายที่นิพร้อมโรง!!] The Wolverine 2013 | เดอะ วูล์ฟเวอรีน [7.3 IMDb] [มหากาพย์ภาพยนตร์แอ็คชั่นผจญภัย..ที่จะมาสะกดทุกสายตา ทุกห้วงอารมณ์!!]-[VCD] [หนังซูม]-[พากย์ไทยโรง]"
"[ฝรั่ง] โหลดหนัง Despicable Me 2 (2013) - มิสเตอร์แสบ ร้ายเกินพิกัด 2 [720p.TS.XviD-AVI]-[พากย์ไทยโรง]"
[PC] NEED FOR SPEED : THE RUN [DIRECT LINKS][FULL] ลิ้งตรงโหลดเต็มสปีด
[PC] โหลดเกมส์ WARRIORS OROCHI [One2Up]โ หลดแรงเต็มสปีด [เกมส์เก่าเล่าใหม่]
"[ฝรั่ง]-[ฉายที่นิพร้อมโรง!!] Now You See Me (2013) อาชญากลปล้นโลก [7.5 IMDb][มายากลอัจฉริยะจะตรึงทุกสายตา..โจรกรรมครั้งมหึมาจะหยุดโลก!!]-[VCD] [หนังซูม]-[พากย์ไทยโรง] "
"[ฝรั่ง - ใหม่ - ชนโรงอย่างจัง] Pacific Rim - สงครามอสูรเหล็ก [พากย์ไทยโรงเท่านั้น] [หนังซูม]
"[ฝรั่ง]-[ฉายที่นิแล้วพร้อมโรง!!] World War Z (2013) l มหาวิบัติสงคราม Z [7.3 IMDb][แบรด พิตต์ กับสงครามซึ่งเป็นมหันตภัยคุกคามต่อมวลมนุษยชาติที่สร้างความตระหนกและน่าสะพรึงกลัวกว่าครั้งใด ๆ ในโลก!!]-[VCD] [หนังซูม]-[พากย์ไทยโรง]"
[Movie][ฝรั่ง]-[โคตรชัด!!] G.I. Joe : Retaliation (2013) - จีไอโจ สงครามระห่ำแค้นคอบร้าทมิฬ [การกลับมาอีกครั้งของมหากาฬภาพยนตร์แอ๊คชั่น มันส์สนั่นจอ!!]-[VCD][one2up] [Modified]-[พากย์ไทยโรง]
[Program]CyberLink PowerDVD 2013 Ultra v13.0.2720.57 [ตัวเต็มลงแล้วไม่ต้อง Crack หรือ Patch][One2up]
[ฝรั่ง]-[ชัดกว่านี้ยังไม่มี] Man of Steel (2013) l บุรุษเหล็กซูเปอร์แมน [7.8 IMDb] [การกลับมาอีกครั้งของซุปเปอร์ฮีโร่ในตำนาน ..ที่ครองใจคนทั้งโลก!!]-[VCD] [หนังซูม]-[พากย์ไทยโรง]
[Program]Camtasia Studio v7.1.0 โปรแกรมบันทึกภาพหน้าจอ คอมพิวเตอร์ในรูปแบบวีดีโอ และ คู่มือ [KEY]
[ไทย][Master]พี่มากพระโขนง-[VCD][one2up]
[One2up]WinRAR V.5.03 เวชั่นใหม่ล่าสุดภาษาไทยครับ เสถียรทุกวินโดว์เร็วสุดๆ[Full][1part]
OFFICE ProfessionalPlus2013 + Activate 100%
[One2up]Avira Internet Security 13.0.0.3736 Incl Key file + Keygen @ Only By THE RAIN {HKRG}[Full][กุญแจ] 1part
Youtube Downloader Ultimate 7.3.3.0+ Serial
[Program]Office 2003 & 2007 Professional Thai+Key (AIO) โปรแกรมทำเอกสารที่ทุกบ้านต้องมีไว้! [Full][กุญแจ]
Flash Player Pro 5.4 [FULL] แฟลช Player Pro เป็นแฟลชชุดที่มีประโยชน์มากครับ
Magic Camera 8.5 full ล่าสุด ตัวเต็มครับ
Internet Download Manager (IDM) v6.16 build 2 Incl Crack + Key
ใช้แอพฯ Android บน PC ด้วยโปรแกรม BlueStacks
cFosSpeed 9.02 Build 2032 Final โปรแกรมเร่งความเร็วอินเทอร์เน็ต เวอร์ชั่นใหม่ 9.02
Game Review
เกมส์ Inversion mutiplayer มาดูกัน




ตามข่าว "โควิด-19" อย่างไรไม่ให้ "จิตตก" เกินไป

ตามข่าว "โควิด-19" อย่างไรไม่ให้ "จิตตก" เกินไป
อ้างอิง อ่าน 278 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง

มะนาว


ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่โควิด-19 ขณะที่ในด้านการรักษายังไม่มียารักษาที่ชัดเจน จึงมีความเป็นไปได้ ที่จะทำให้เกิดความกลัวต่อการแพร่ระบาดของโรค ผู้คนซึ่งล้วนมีปฏิกิริยาที่แตกต่างกันออกไปในการรับมือกับความกลัว บางคนก็นิ่งเฉยไม่ค่อยอยากรับรู้ บางคนวิตกกังวลกับข่าวสาร ขณะที่บางคนรู้สึกซึมเศร้าหดหู่ และในสถานการณ์แบบเดียวกันยังมีผู้คนอีกมากมายที่ยังสามารถรับมือกับความกลัวอย่างมีสติ แก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม

นพ.จิตริน ใจดี จิตแพทย์ศูนย์จิตรักษ์ รพ.กรุงเทพ กล่าวว่า คุณสมบัติสำคัญข้อแรกในการรับมือกับวิกฤตการณ์ต่างๆ คือ ความอดทน เพราะความกลัว (Fear) และ ความกังวล (Anxiety) ทั้งสองอย่างคล้ายกันมาก เป็นอารมณ์ความรู้สึกประเภทเดียวกัน เพียงแต่ความกังวลจะมาในรูปแบบที่อ่อนกว่า มีลักษณะที่ซํ้าซากจำเจและอยู่กับเราได้นานกว่าความกลัว ที่มักจะมาแบบทีเดียวจบ ยิ่งในสถานการณ์ช่วงนี้ ความวิตกกังวล และความกลัว ล้วนเป็นสภาวะปกติของการตอบสนองทางอารมณ์ของคนเราเมื่อเผชิญเหตุร้าย ในเวลาที่ต้องเจอกับสิ่งที่ไม่เคยเจอมาก่อนและไม่รู้ว่าจะจัดการอย่างไร ดังนั้น เราจึงไม่ควรปฏิเสธหรือเก็บความกลัวความกังวลเอาไว้ ถ้าเก็บไว้จะยิ่งใหญ่ขึ้นและร้อนขึ้นเปรียบเทียบได้เหมือนภูเขาไฟที่รอการระเบิดโดยอัตโนมัติ

เมื่อเรารู้สึกกลัวหรือกังวล ร่างกายของจะหลั่งฮอร์โมนที่ทําให้เข้าสู่สภาวะ เตรียมพร้อมเผชิญเหตุอันตรายคือ “อะดรีนาลีน” และ “คอร์ติซอล” ฮอร์โมนหลักทั้งสองตัวนี้จะนําร่างกายและจิตใจให้เข้าสู่สภาวะตึงเครียด ตื่นเต้น โดยหัวใจจะสูบฉีดเลือดแรง ถี่ขึ้น จนรู้สึกเหมือนว่าใจสั่น จังหวะการหายใจจะเร็วขึ้นแต่ไม่มีประสิทธิภาพ คือหายใจแบบตื้นๆ ถี่ๆ ดังนั้นเมื่อหายใจแบบนี้ต่อไปสักพักจะยิ่งรู้สึกอึดอัด ไม่สบาย อาการอื่นๆที่พบได้ เช่น แน่นหน้าอก อยากจะอาเจียน เวียนศีรษะหน้ามืด ตาพร่า เสียวหรือชาตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เป็นต้น โดยอาการดังกล่าวมักเป็นขึ้นโดยฉับพลัน และมักเป็นพร้อมๆ กันหลายอาการอาการที่ผิดปกติต่างๆ ถ้าเป็นบ่อยๆ ก็มักจะทำให้ผู้ที่กังวลอยู่แล้วยิ่งกังวลมากขึ้นไปอีก จากเดิมที่เคยกังวลเรื่องนอกตัว กลับมาเป็นคิดกังวลเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพของตัวเองโดยอาจจะเผลอคิดไปว่าตัวเองกำลังเจ็บป่วยร้ายแรง มีโรคร้ายแรงซ่อนเร้นอยู่ เป็นต้น

ลักษณะดังที่ได้กล่าวไปแล้วถ้าเกิดขึ้นแค่ครั้งเดียวหรือสองครั้ง และเป็นตามหลังเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้นจริงๆ โดยทั่วไปถือว่าไม่เป็นอะไร เป็นปกติ แต่ถ้าหากเหตุการณ์นั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่ยังมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ เป็นๆ หายๆ ไม่สามารถคาดเดาหรือควบคุมได้ ทำให้กลายเป็นคนไม่มั่นใจ คิดมาก คิดซํ้า ส่งผลให้ใช้ชีวิตประจำวันได้ลำบากขึ้น เพราะต้องคอยห่วงคอยพะวง คอยเลี่ยงที่จะไม่ทำกิจกรรมอะไรบางอย่าง ทั้งๆที่เคยทำได้ตามปกติ หรือบางครั้งก็อดไม่ได้ที่จะคิดลบๆ ไปก่อนล่วงหน้าทั้งๆ ที่เหตุการณ์นั้นยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้มาสักระยะหนึ่งก็จะเรียกสภาวะนี้ว่า“แพนิก” ถ้าไม่อยากเป็นแพนิกก็ต้องเรียนรู้ที่จะลดระดับความวิตกกังวล และสำหรับเทคนิคการลดความวิตกกังวลนั้น แต่ละคนมักจะมีวิธีที่ไม่เหมือนกัน ข้ามคำแนะนำประเภท “อย่าเครียด” “อย่าคิดมาก” “ให้ปล่อยวางจะถือไว้ทำไม” เพราะนอกจากจะไม่ได้ช่วยให้คลายกังวลแล้ว ยังเป็นสิ่งที่ทำได้ยากในเวลาวิกฤติและอาจทำให้ผู้ฟังรู้สึกอึดอัดและกดดันมากกว่าเดิมได้


วิธีลดความวิตกกังวล ด้วยการทำจิตบำบัดแบบ CBT
เทคนิคในการลดความวิตกกังวล ด้วยหลักการทําจิตบําบัดแบบ CBT (Cognitive Behavioural Therapy) เป็นหนึ่งในแนวทางการบําบัดมาตรฐานที่จิตแพทย์นำมาใช้ ให้คําปรึกษากับผู้ที่มารับบริการ ในมุมมองของ CBT มองว่าจะมีตัวแปรอยู่สามประการ ที่ทําให้ตอบสนองต่อความเครียดแตกต่างกันออกไป โดยทั้งสามอย่างนี้ประกอบไปด้วย

ความรู้สึก(feeling) การปรับความรู้สึก เคยไหมในเวลาที่เศร้ามากๆ หรือโกรธมากๆ รู้สึกไม่ไหวแล้วจนคล้ายๆ อยากจะตะโกนออกมา คนส่วนใหญ่มักจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยการเก็บกดความรู้สึกเอาไว้ (Suppression) อาจเป็นเพราะอายหรือเพราะบริบททางสังคม เทคนิคนี้ “ทำได้ แต่อย่าทำบ่อย” เพราะการเก็บกดอารมณ์ความรู้สึกเอาไว้ข้างใน จะทำให้เกิดก้อนความเครียดก่อตัวขึ้นมาอยู่ภายในใจ พอสะสมไปเรื่อยๆ สุดท้ายอาจจะทำให้เกิดการระเบิดอารมณ์แบบรุนแรงขึ้น เกิดเป็นแพนิก หรือซึมเศร้าขึ้นได้

ความคิด/กระบวนการคิด(Cognition) การปรับความคิดหรือกระบวนการคิดคนทั่วไปมักคิดว่า ควรคิดเชิงบวก (Positive Thinking) มักจะแนะนำว่าให้ฝึกคิดบวกเข้าไว้และจะดีเอง หรือต้องคิดบวกจะได้เป็นการเหนี่ยวนำพลังบวกเข้ามาในชีวิต ซึ่งที่จริงแล้วในภาวะฉุกเฉินหรืออันตรายนั้น คิดบวกได้ยากมากๆ ความคิดเชิงบวกมักจะมาตอนที่อยู่ในภาวะที่มั่นคงและปลอดภัยมากกว่า ฉะนั้น ในภาวะที่ตึงเครียดไม่จำเป็นต้องคิดบวกขนาดนั้น ขอแค่คิดแบบกลางๆ มีสติ พยายามกรองความคิดด้านลบให้ลดน้อยลง แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว

พฤติกรรม (Behavior)  การปรับพฤติกรรมเป็นจุดที่คนทั่วไปมองข้าม เป็นเรื่องที่ไม่อยากทำ คนเราเวลามีเรื่องเครียดมักจะยอมเสียเวลาเป็นวันๆ เพื่อไปนั่งปรับความคิดหรือปรับอารมณ์ให้เป็นบวก หรือบางคนใช้เวลาเป็นสัปดาห์เป็นเดือนหรือเป็นปีจนกว่าจะทำใจยอมรับความทุกข์ก้อนใดก้อนหนึ่งได้ ความทุกข์ช่างมีราคาสูงเสียเหลือเกินในแนวคิดของการปรับพฤติกรรม เราเชื่อว่ากิจกรรมที่เราทำและสิ่งแวดล้อมที่เราอยู่ จะส่งผลอย่างมากต่ออารมณ์และความคิดของเรา

ดังนั้น ถ้ากำลังมีความทุกข์ใจหรือเครียดเรื่องใดเรื่องหนึ่งอยู่และอยากให้ผ่านไปเร็วๆ ต้องปรับกิจกรรม ปรับวิธีการใช้ชีวิตในแต่ละวันอย่างจริงจัง เช่น ถ้ารู้ตัวว่ารับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องโควิด-19 มากเกินไปจนทำให้เกิดความกลัว ความเครียด ก็ต้องพยายามอย่าทำซํ้าแบบเดิม ลดความถี่ของการเสพข่าวลง แต่คอยเติม คอยหากิจกรรมอะไรใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อนมาลองทำแทนพฤติกรรมเดิมแล้วความกังวลจะค่อยๆ ลดลงไป ช่วยให้หัวใจได้กลับมา

ติดตามข่าวอื่นๆ คลิก slotxo
 
มะนาว ๋Janthima6582@gmail.com [193.37.32.xxx] เมื่อ 9/05/2020 10:19
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :