6 วิธีรับมือวัยทอง ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านมเป็นโรคที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของผู้หญิง ทั่วโลก ในประเทศไทยช่วงไม่กี่ปีมานี้มะเร็งเต้านมมาแรง แซงมะเร็งปากมดลูก ขึ้นจากอันดับสองมาเป็นอันดับหนึ่งพบ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่มากถึงปีละ12,000คน หรือตกวันละ 35คน โดยเสียชีวิตวันละ10 คน
ฟังแล้วชวนให้ใจเสีย แต่มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่ตอบสนอง ต่อการรักษาได้ดี หากเป็นระยะที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 99 ที่มี โอกาสรอดชีวิตได้ถึง 5 ปี หากเฉลี่ยทุกระยะและรักษาอย่างเต็มที่ มะเร็งเต้านมถือว่าเป็นมะเร็งที่มีโอกาสรอดชีวิตสูงมาก คือรอดชีวิตอยู่ที่ 5, 10 และ 15 ปี คิดเป็นร้อยละ 89, 83 และ 78ตามลําดับ
ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งเต้านมมีดังนี้
1.เพศหญิง พบมะเร็งเต้านมในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 100 เท่า
2.ร้อยละ 80 เกิดในผู้หญิงที่อายุมากกว่า 50 ปี มีเพียงร้อยละ 5 เกิดในผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 40 ปี
3.คนรวยมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าคนจน
4.เครียดเรื้อรัง
5.อ้วน น้ำหนักตัวมาก
6.กลุ่มอาการของโรคเมแทบอลิก(Metabolic Syndrome) คือ อ้วน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน
7.กินอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เบเกอรี่ หมูสามชั้น ของมัน ของทอด ฯลฯ
8.ดื่มเหล้า
9.ไม่ออกกําลังกาย
10.พันธุกรรม พบว่ ร้อยละ 10 ของคนไข้มะเร็งเต้านม มีญาติเป็นมะเร็งเต้านม
11.ชาวตะวันตกหรือฝรั่งผิวขาวเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม มากกว่าชาวเอเชีย 5 เท่า
12.เต้านมที่มีถุงน้ำและพังผืดหนาผิดปกติเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง
13.เคยเป็นมะเร็งเต้านมข้างหนึ่ง มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นอีกข้างหนึ่ง
14.เคยได้รับการฉายแสงที่บริเวณทรวงอกก่อนอายุ 32 ปี
15.โสด หรือแต่งงานแล้วไม่มีลูก
16.มีลูกคนแรกเมื่ออายุมากกว่า 34 ปี
17.มีประจําเดือนก่อนอาย 12 ปี หมดประจําเดือนช้ากว่าอายุ 55 ปี
18.มีญาติพี่น้องหรือตัวเองเป็นมะเร็งรังไข่ เสี่ยงต่อการเป็น มะเร็งเต้านมมากกว่าผู้ที่ไม่เป็น
19.มียีนกลายพันธุ์ BRCA 1และหรือBRCA2 จะมีความ เสี่ยงสูงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมสองข้างในช่วงก่อนหมดประจําเดือน
สรุป ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม ส่วนใหญ่เกี่ยวข้อง กับพันธุกรรม ฮอร์โมนเพศหญิงการกินอาหารที่มีไขมันสูง และ ความอ้วน
วิธีป้องกันมะเร็งเต้านม
ยังไม่มีวิธีที่มีประสิทธิภาพ ปัญหาคือเกินครึ่งของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมไม่มีปัจจัยเสี่ยง อย่างไรก็ตามเชื่อว่าการปฏิบัติตนดังต่อไปนี้สามารถป้องกันการเกิดโรคได้
- แต่งงานและมีลูกก่อนอายุ 30 ปี
- ให้นมบุตร งานวิจัยพบว่า มารดาที่ให้นมลูกไม่น้อยกว่า 6 เดือน สามารถลดการเกิดมะเร็งเต้านมได้
- ทําหมัน พบว่าคุณผู้หญิงที่ทําหมันช่วยลดการเกิดมะเร็งเต้านมได้
- ออกกําลังกายเป็นประจํา
- ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ปล่อยตัวให้อ้วน ไม่กินอาหารที่มี ไขมันสูง
- ระวังการใช้ยาฆ่าแมลง และการกินสมุนไพรที่มีโครงสร้างทางเคมีเหมือนฮอร์โมนเพศหญิง เพราะอาจกระตุ้นให้เกิดมะเร็งเต้านมได้
- การใช้ฮอร์โมนเอสโทรเจนทดแทนภาวะหมดประจําเดือน ต้องได้รับคําแนะนําและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
- ไม่เครียด
- นอนหลับในที่มืดสนิท เพื่อให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน เพราะเชื่อว่าการลดลงของระดับฮอร์โมนซึ่งพบในคนทํางานกลางคืนที่มีแสงไฟกระตุ้นให้เกิดมะเร็งเต้านมได้
- ในกรณีที่มีความเสี่ยงสูง เช่น มียีนกลายพันธุ์ BRCA 1 BRCA 2 อาจปรึกษาแพทย์เพื่อใช้ยาป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านม เช่น Tamoxifen
- ตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน พบแพทย์ตรวจเต้านมทุกปี
- ตรวจแมมโมแกรมทุกปีเมื่ออายุ40 ปีขึ้นไป
มาฟัง 6 วิธีรับมือกับอาการวัยทองในคนที่เป็นมะเร็งเต้านมกัน
1.หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทําให้รู้สึกร้อนวูบวาบ เช่น การพักผ่อน เพียงพอ การกินอาหารบางอย่าง การอาบน้ำอุ่น
2.ทําให้ตัวเย็น เช่น อยู่ในห้องเย็น ดื่มน้ำเย็น ประคบผ้าเย็น อาบน้ำเย็นบ่อย ๆ ใช้พัดเวลาร้อน
3.ดูแลใจ มีวิธีลดความเครียด เช่น ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ปฏิบัติธรรม ปฏิบัติตามแนวทางชีวจิต
4.ดูแลสุขภาพกาย กินอาหารครบหมู่ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ ในเกณฑ์มาตรฐานเพราะคนอ้วนมักจะขี้ร้อน
5.ออกกําลังกายสม่ำเสมอสามารถลดความถี่และระยะเวลาของอาการร้อนวูบวาบได้
6.ใช้ยารักษาตามอาการ เช่น ยานอนหลับ ยาแก้ปวด ยาคลายเครียด วิตามิน ยารักษาอาการร้อนวูบวาบที่ไม่ใช่ฮอร์โมน เช่น ยาต้านเศร้า(กลุ่มSSRI) ยาลดความดันโลหิต (Clonidine)
ข้อมูลเพิ่มเติม : pg slot