3 วิธีเก็บเงิน สำหรับคนที่ทำงานมานาน แต่ไม่มีเงินเก็บเลย |
|
อ้างอิง
อ่าน 275 ครั้ง / ตอบ 1 ครั้ง
|
lily
|
3 วิธีเก็บเงิน สำหรับคนที่ทำงานมานาน แต่ไม่มีเงินเก็บเลย
สำหรับชาวออฟฟิศหรือใครอีกหลายคนที่ทำงานมานานแล้ว แต่ว่ายังไม่มีเงินเก็บเลย คงกำลัง
กลุ้มใจว่าในอนาคตเมื่อเกษียณแล้ว เราจะมีเงินใช้จ่ายเพียงพอหรือไม่ และพอจะเริ่มเก็บเงิน
ทีไรก็มีเหตุให้ต้องใช้เงินทุกครั้ง ทำให้เราออมเงินไม่ได้ ไม่มีเงินเก็บในบัญชีเสียที
เทคนิคการเก็บเงินที่เราเคยได้ยินกันมาก็คือ ใช้เงินเหลือเท่าไหร่ก็ค่อยเก็บเป็นเงินออมไป
แต่เชื่อหรือไม่ว่ามีคนไม่กี่เปอร์เซ็นต์หรอกค่ะ ที่สามารถใช้วิธีนี้ได้สำเร็จ เพราะส่วนมากมัก
จะใช้เงินกันจนหมด ไม่มีเหลือเก็บกันสักเท่าไหร่ แล้วจะทำอย่างไรหากพยายามเก็บเงินแล้ว
แต่ไม่สำเร็จสักที วันนี้เรามี 3 เทคนิคดีๆ ที่ช่วยเก็บเงินได้มาฝากกันค่ะ
3 วิธีเก็บเงิน สำหรับคนที่เก็บเงินไม่ได้เลย
1. หักเงินอัตโนมัติ 10%
สำหรับวิธีแรกก็คือให้ทางธนาคารตัดเงินแบบอัตโนมัติค่ะ โดยเงินที่ตัดออกไปนั้น เราจะไป
เก็บไว้อีกบัญชีก็ได้ โดยบัญชีนี้ควรเป็นบัญชีฝากประจำที่ไม่สามารถถอนเงินได้หากไม่ครบ
ระยะเวลา หรือเป็นบัญชีที่ไม่ทำบัตร ATM เพื่อสร้างความยุ่งยากในการถอนเงิน ทำให้เรา
ขี้เกียจไปธนาคารเพื่อถอนเงินค่ะ หรือจะตัดเงินอัตโนมัติส่วนนี้ออกไปเพื่อลงทุนในกองทุน
รวมตลาดเงิน กองทุนรวมตราสารหนี้ หรือจะไปซื้อสลากออมสินก็ได้ค่ะ ซึ่งผลตอบแทนที่
ได้จากการลงทุนในกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงต่ำ ถึงแม้จะไม่ได้มีผลตอบแทนที่สูงมาก
แต่ในระยะยาวก็ถือเป็นเงินเก็บให้เราได้ค่ะ
2. เพิ่มความสนุกในการออม
ทำให้เรื่องการออมเงินเป็นเรื่องที่สนุกมากขึ้น อย่างเช่นการเลือกเก็บเฉพาะแบงค์ 50 บาท
หรือเก็บเฉพาะเหรียญ ไม่ว่าจะเป็นเหรียญอะไรก็ตาม หรือแม้แต่เหรียญสตางค์ โดยเราอาจ
แบ่งเก็บเหรียญ 25 สตางค์ 50 สตางค์ 1 บาทและ 2 บาท ไว้ที่เดียวกัน ส่วนเหรียญ 5 และ
10 นั้นก็เก็บแยกไว้อีกส่วนเพื่อไว้สำหรับใช้จ่าย หรือหากสะสมได้เยอะก็สามารถนำไปซื้อ
กองทุนเลยก็ได้ ส่วนเหรียญเล็กๆ ที่เหลือจะเก็บเป็นเงินติดบ้านเอาไว้ใช้ซื้อขนมและของ
เล็กๆ น้อยๆ หรือจะเอาไปบริจาคหยอดตู้ต่างๆ ก็ได้ ได้บุญด้วยและไม่กระทบเงินก้อนหลัก
ในกระเป๋าค่ะ
3. เก็บภาษีตัวเอง 10%
บางครั้งเราก็อยากจะฟุ่มเฟือยบ้าง ซึ่งข้อนี้ไม่ใช่เรื่องผิดเลยค่ะ เมื่อไหร่ที่มีการใช้จ่ายมาก
เกินกว่าปกติในแต่ละวัน ก็ลองตั้งกฏง่ายๆ ในการจ่ายภาษีให้กับตัวเองค่ะ ยกตัวอย่างเช่น
เรากินข้าวราดแกงจานเดียวก็อิ่ม ราคาก็ไม่น่าจะเกิน 80 บาท แต่ในบางวันเราก็อยากกินอะไร
อร่อยๆ บ้างหรือในบางวันก็ต้องมีงานเข้าสังคม ไปกินข้าวกับเพื่อนบ้าง หากเมื่อไหร่ที่มี
การใช้จ่ายเกิน 500 บาทก็ต้องจ่ายภาษีให้ตัวเอง 50 บาท และ 50 บาทนี้ก็จะเป็นเงินเก็บของ
เราค่ะ ซึ่งการเก็บภาษีให้ตัวเองนั้นไม่ได้จำกัดแค่เฉพาะค่าข้าวเท่านั้น หากมีการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
ซื้อของที่ไม่ได้จำเป็นแต่เราอยากได้ ก็ใช้วิธีจ่ายภาษีให้ตัวเองได้เช่นเดียวกันค่ะ
ถ้าไม่อยากพลาดเรื่องนี้มาติดตามกันได้ที่นี่ : สมัครslotxo
|
|
lily medada966@gmail.com [193.37.32.xxx] เมื่อ 29/01/2021 14:07
|